วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

การใช้โปรแกรม Adobe Captivate 3

การใช้โปรแกรม Adobe Captivate 3

การเปิดใช้งานโปรแกรม Adobe Captivate 3.0


Software Simulation หมายถึงว่าจะเป็นการจำลองการจับหน้าจอภาพตามที่เรากระทำโปรแกรมจะ
ทำการเก็บภาพหน้าจอตามที่เรากระทำกับ Mouse หรือกระทำอื่นใดกับจอภาพ ในส่วนที่โปรแกรมให้เราเลือกจากรายการที่กำหนด มีหลักการทำงาน ดังนี้
- Application สำหรับการ Capture movie ทั้งหน้าจอภาพ ของโปรแกรมที่เรา ต้องการจะทำการ
บันทึกการท างานของหน้าจอ
- Custom size สำหรับการ Capture movie แบบกำหนดขนาดหน้าจอภาพได้
-Full Screen สำหรับการ Capture movie ทั้งหน้าจอภาพ
การสร้างผลงานสื่อการเรียนการสอนด้วยโปรแกรม Captivate รวมถึงการสร้าง Movies ควรเริ่มต้น
โดยวางแผนการสร้างภาพเคลื่อนไหว (Movie) โดยออกแบบ Storyboards, Scripts หรือใน รูปแบบอื่น
ตั้งค่าเริ่มต้นการใช้งานในการจับจอภาพเคลื่อนไหว (Movie preferences)



การออกแบบหน้าจอสื่อคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย

การออกแบบหน้าจอสื่อคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย


    ส่วนประกอบของสื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์

1. ส่วนนำ
2. ส่วนเนื้อหา
3. ส่วนคำถามและการฝึก
4. ส่วนประเมินและเสริมการเรียนรู้

การออกแบบหน้าจอ

องค์ประกอบด้านข้อความคำนึงถึง


1. รูปแบบและขนาดตัวอักษร ให้เหมาะสมกับผู้เรียน
2. ความหนาแน่นของตัวอักษร
3. สีของข้อความ

องค์ประกอบด้านภาพและกราฟิก


1. การแปลงข้อความออกมาในรูปแบบของสัญลักษณ์ และแผนภูมิ แผนภาพ เพื่อง่ายต่อความเข้าใจ
2. ใช้ภาพเพื่อสรุป เสริมความรู้ หรือให้ผลป้อนกลับ
3. ใช้ภาพเพื่อเป็นรางวัล
4. ใช้ภาพเพื่อกระตุ้นความคิด หรือเป็นภาพสะสม

5. การสอนที่เป็นนามธรรม ง่ายยิ่งขึ้น
6. ภาพให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย เนื้อหาและวัยของผู้เรียน
7. หลีกเลี่ยงการใช้ภาพจำนวนมาก ๆ
8. การออกแบบหน้าจอไม่ควรให้มีการเสริมแต่งมากเกินไป

องค์ประกอบด้านเสียง


1. ควรเลือกลักษณะเสียงให้เหมาะสมกับผู้เรียน
2. ความยาวของเสียงควรสอดคล้องกับการแสดงภาพ
3. ไม่ควรออกแบบให้มีเสียงข้อความเป็นเนื้อหา
4. ไม่ควรใช้เสียงประกอบ หรือเอฟเฟ็กต์หรือเสียงดนตรีมากเกินไป

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดสื่อมวลชนเพื่อการศึกษา


1. สื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ 6 ประเภท คือ
  1. สิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร หนังสือ และสิ่งตีพิมพ์ประเภทอื่นๆ
  2. ภาพยนตร์ ทั้งภาพยนตร์เรื่อง ภาพยนตร์สารคดี และภาพยนตร์ทางการศึกษาบางประเภท
  3. วิทยุกระจายเสียง ได้แก่วิทยุที่ส่งรายการออกอากาศ ทั้งระบบ AM และ FM รวมไปถึงระบบเสียงตามสาย
  4. วิทยุโทรทัศน์ เป็นสื่อทางภาพและทางเสียงที่เผยแพร่ออกไป ทั้งประเภทออกอากาศและส่งตามสาย
  5. สื่อสารโทรคมนาคม เป็นผลจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี มีการส่งข้อความ เสียง ภาพ ตัวพิมพ์ สัญลักษณ์ต่างๆ ได้หลากหลาย ครอบคลุมกิจการสื่อสารผ่านดาวเทียม โทรภาพ โทรพิมพ์
  6. สื่อวัสดุบันทึก ได้แก่เทปบันทึกเสียง เทปบันทึกภาพ แผ่นบันทึกเสียง แผ่นบันทึกภาพ ซึ่งกลายเป็นสื่อมวลชน เพราะเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้สามารถผลิตเผยแพร่ได้มากและรวดเร็ว

2. คุณค่าของสื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ การใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา สามารถจำแนกการใช้ออกได้เป็น2ลักษณะ คือ
  1. เพื่อการสอนโดยตรง สื่อมวลชนที่ใช้สอนโดยตรงจะต้องมีเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อตรงตามเนื้อหาบทเรียน
  2. เพื่อเพิ่มคุณค่าทางการสอน เป็นการนำสื่อมวลชนมาใช้ประกอบการสอนเพื่อเพิ่มความรู้แก่ผู้เรียนให้กว้างขวางยิ่งขึ้นกว่าที่เรียนจากสื่อที่ใช้ในการสอนโดยตรงในชั้นเรียน สื่อมวลชนที่นำมาใช้จะมีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับบทเรียนตามหลักสูตร แต่จะขวายวงกว้างกว่าสื่อที่นำมาสอนโดยตรง

3. ให้นิสิตยกตัวอย่างสื่อมวนชนเพื่อการศึกษามา1รายการ พร้อมอธิบายประโยชน์ของรายการนั้นๆ
ตอบ วิทยุ
          วิทยุเป็นอุปกรณ์สื่อสารในการรับส่งข้อมูลทางด้านเสียงโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าโดยไม่ต้องใช้สาย การใช้วิทยุเพื่อการสื่อมวนชนเพื่อการศึกษาในประเทศไทยเริ่มมีขึ้นตั้งแต่ปี พ..2497 โดยใช้ในและนอกระบบโรงเรียน ถ้าเป็นการศึกษาในระบบโรงเรียนเรียกว่า วิทยุโรงเรียนถ้านอกระบบโรงเรียนเรียกว่า วิทยุไปรษณีย์ เราเรียกการใช้วิทยุในการศึกษารวมเรียกว่า วิทยุศึกษา

วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดโทรคมนาคมเพื่อการศึกษา


1.โทรคมนาคม หมายถึงอะไร และมีประโยชน์ทางการศึกษาอะไรบ้าง
ตอบ โทรคมนาคม หมายถึง การส่งสารสนเทศในรูปแบบของตัวอักษร ภาพ เสียงโดยใช้กระบวนการที่หลากหลาย เช่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้า หรือเคเบิลใยแก้วนำแสง ดาวเทียม เป็นต้น ไปยังผู้รับสารที่ต้องการเรียนรู้หรือการจัดการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ
ประโยชน์ทางการศึกษา  -การสื่อสารผ่านดาวเทียมเพื่อการศึกษา
                                        -การสื่อสารผ่านเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง
2. การใช้ Facebook เป็นโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาหรือไม่ ถ้าเป็นจงยกตัวอย่างประโยชน์ของ Facebook
ตอบ เป็น ประโยชน์คือ เวลาอาจารย์สั่งงานแล้วเอามาโพสบอกเพื่อนได้
3.นิสิตสามารถรับชมโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมได้ด้วยวิธีทางใดบ้าง

ตอบ   1. ระบบ DSTV เป็นระบบโทรทัศน์ผ่านจานรับสัญญาณดาวเทียม ในย่านความถี่ KU-Band ที่เป็นระบบเดียวกับ ทรูวิชั่นส์ ซึ่งสามารถซื้อ ชุดรับสัญญาณดาวเทียม กับตัวแทนจำหน่ายของ ทรูวิชั่นส์ ได้ทั่วไป โดยไม่เสียค่าบริการรายเดือน โดยมีราคาประมาณชุดละ12,000 บาท หรือหากมีเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม ที่สามารถรับย่าน KU-Band ได้ ก็สามารถรับชมได้ เพราะระบบออกอากาศของสถานีฯ มิได้มีการเข้ารหัสไว้ จึงไม่ต้องใช้ Smart Card ในการรับชมรายการ
 2. ระบบ CATV เป็นระบบโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล ซี่งสามารถรับชมได้ ในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดปริมณฑล แต่สามารถรับชมรายการได้เพียง 7 ช่อง และต้องเสียค่าบริการรายเดือน  กับบริษัทเคเบิลทีวีริการ ที่ให้บ
3. สามารถใช้ประโยชน์จากการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม โดยวิธีการศึกษาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้อีกทางหนึ่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในด้านเนื้อหาวิชา (Free-of-charge Web-based Information Content) ทั้งในระบบรายการถ่ายทอดสด (Live Broadcast) และระบบรายการตามคำสั่ง (On Demand) ทางเว็บไซต์ของ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และ สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
4. ประโยชน์ของโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ
1. การศึกษาในระบบโรงเรียน
เป็นการจัดการศึกษา ตาม หลักสูตรการศึกษาในระบบโรงเรียน (
Formal Education) ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และ มัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อช่วยเหลือโรงเรียนต่างๆ ในรายวิชาที่ขาดแคลนครูผู้สอน หรือเป็นรายวิชาที่มีเนื้อหาค่อนข้างยาก โรงเรียนที่ต้องการเข้าร่วมโครงการฯ สามารถทำได้ โดยจัดหาเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม เพื่อรับชมรายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ตามตารางเวลาที่ออกอากาศ
2. การจัดการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการจัดการศึกษา เพื่อให้ข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ และทักษะที่เป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วไป (Informal Education)
5. นิสิตรับชมรายการจาก http://www.youtube.com/watch?v=OvUsY7oTEQc และจงอธิบายถึงประวัติความเป็นมาของสถานีโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมไทยคม
ตอบ สัญญาณถ่ายทอดสดการเรียนการสอนจาก โรงเรียนวังไกลกังวล หัวหิน จ.ประจวบ ผ่านสถานีดาวเทียมและดามเทียมไทยคมไปยังโรงเรียนทั่วประเทศเกิดขึ้นเพื่อสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้านการศึกษาทางไกลเพื่อให้การศึกษามีคุณภาพทัดเทียมกันทั่วทั้งประเทศ รวมทั้งแก้ปัญหาการขาดแคลนปัจจัยที่จำเป็นคือครูผู้สอนในพื้นที่ห่างไกลไปพร้อมๆกัน สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ Distance learning Television (DLTV) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2539 เพื่อเฉลิมพระเกียรติในมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงครองสิริราชสมบัติครบรอบ 50 ปี โดยจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม  ถ่ายทอดสดหลักสูตรประถมศึกษา มัธยมศึกษา และสายวิชาชีพให้แก่โรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา รวมทั้งการออกอากาศรายการภาคภาษาอังกฤษทางช่อง 81-95 (UBC) …….บริหารงานโดย มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ Distance learning foundation (DLF)สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ดำเนินการออกอากาศ รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ใน 2 ลักษณะ ดังนี้
1. การศึกษาในระบบโรงเรียน
เป็นการจัดการศึกษา ตาม หลักสูตรการศึกษาในระบบโรงเรียน (
Formal Education) ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และ มัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อช่วยเหลือโรงเรียนต่างๆ ในรายวิชาที่ขาดแคลนครูผู้สอน หรือเป็นรายวิชาที่มีเนื้อหาค่อนข้างยาก โรงเรียนที่ต้องการเข้าร่วมโครงการฯ สามารถทำได้ โดยจัดหาเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม เพื่อรับชมรายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ตามตารางเวลาที่ออกอากาศ
       2. การจัดการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการจัดการศึกษา เพื่อให้ข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ และทักษะที่เป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วไป (Informal Education)
        การจัดการศึกษาผ่านดาวเทียม เพื่อการศึกษาตามอัธยาศัยนี้ กำหนดเนื้อหารายการ ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาในปัจจุบัน และ ความต้องการของประชาชน ในการพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ รวมถึงคุณภาพชีวิตของประชาชน

6. ให้นิสิต Post รูปภาพเกี่ยวกับโทรคมนาคมเพื่อการศึกษาลงใน Weblog





 เส้นใยนำแสง (Optical Fiber Cable)






วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การใช้สำนักหอสมุด

การให้บริการของสำนักหอสมุด


1. เป็นสมาชิกห้องสมุดการสมัครเป็นสมำชิกห้องสมุด ให้นิสิตนำบัตรประจำตัวนิสิตไปติดต่อเจ้าหน้าที่
ที่เคาน์เตอร์บริการยืม-คืน ชั้น ๒ เพื่อบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูลสมาชิกห้องสมุด

2. การใช้บัตรประจำตัวนิสิต
นิสิตจะต้องแสดงบัตรประจำตัวนิสิตของตนเองทุกครั้งที่ใช้บริการของสำนักหอสมุด
ในกรณีที่นิสิตทำบัตรประจำตัวนิสิตหาย ให้แจ้งสำนักหอสมุดทราบทันที หำกมีผู้นำบัตรดังกล่าว
ไปใช้ เจ้าของบัตรนั้นต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการใช้บัตรนั้น
ในระหว่างที่ยังไม่ได้แจ้งการสูญหายให้สำนักหอสมุดทราบ

3. การเข้าใช้บริการของสำนักหอสมุด
ให้นิสิตสแกนบัตรประจำตัวนิสิตของตนเองทุกครั้งที่เข้ำใช้บริการและสามารถ
ฝากสิ่งของไว้ที่ห้องรับฝากของ

4. บริการตู้รับฝากของ
นิสิตที่เข้าใช้บริการห้องสมุดสามารถฝากสิ่งของไว้ในตู้รับฝากของก่อนเข้าใช้บริการ
ห้องสมุดได้ ไม่เกิน 1 วัน โดยจะต้องนำของออกจากตู้รับฝากของก่อนเวลาปิดบริการ
ในเวลา 22.00 น.

5. บริการการยืม คืนวัสดุห้องสมุด
สำนักหอสมุด ให้บริการยืม-คืนวัสดุห้องสมุดทางระบบคอมพิวเตอร์ การยืม-คืนวัสดุ
ห้องสมุดนิสิตจะต้องนำบัตรประจำตัวนิสิต พร้อมวัสดุห้องสมุดที่นำมายืมหรือนำมาคืน ยื่นให้
เจ้ำหน้ำที่ นิสิตสามารถยืมต่อด้วยตนเองได้ 1 ครั้ง ใน Web OPAC (ไอคอนสมำชิก) โดยดำเนินการ
ภายในวันกำหนดส่ง สามารถจองสื่อที่มีสถานะถูกยืม ตรวจสอบรายการยืม
 ประวัติการยืม-คืน 
และข้อมูลค่าปรับ ได้ด้วยตนเอง
 * เฉพาะเจ้าของบัตรประจำตัวนิสิตเท่านั้น ที่มีสิทธิใช้บัตรฯ ในการยืม *

6. บริการรับคืนหนังสือที่ตู้รับคืนหนังสือ
สำนักหอสมุดจัดตู้รับคืนหนังสือ/ สื่อโสตทัศน์ ณ บริเวณใกล้ประตูทางเข้ำชั้น ๑ ทั้ง ๒ ด้ำน
ผู้ใช้บริการที่ต้องการคืนหนังสือ/ สื่อโสตทัศน์ สามารถคืนหนังสือ/ สื่อโสตทัศน์ที่
ตู้รับคืน ฯ เจ้าหน้าที่จะดำเนินการจัดเก็บหนังสือทุกวันเวลา 08.00 น., 11.00 น., 14.00 น. และ 16.00 น. และ


จัดเก็บสื่อโสตทัศน์ในเวลา 08.00 น. และ 16.30 น.


7. บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
เป็นบริการที่จัดขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้ใช้บริการได้รับสารสนเทศที่ต้องการจากสื่อสิ่งพิมพ์
สื่อโสตทัศน์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีบริการในสำนักหอสมุดและหน่วยงานอื่น ตลอดจนจาก
แหล่งสารสนเทศต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ให้บริการ ณ เคาน์เตอร์บริการ
ตอบคำถาม ชั้น 2 และชั้น 5

8. บริการสืบค้นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ให้บริการสารสนเทศสำหรับการศึกษาวิจัยซึ่งให้ข้อมูลที่เป็นบรรณานุกรมสำระสังเขป
หรือฉบับเต็ม (Full-text) ของหนังสือ บทความวารสาร วิทยานิพนธ์ในสาขาวิชาต่าง ๆ ในรูปแบบ
ฐานข้อมูลออนไลน์ (Online database) วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-journal) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
(e-book) และฐานข้อมูลดิจิทัลของเอกสารทำงานวิชาการต่าง ๆ โดยสืบค้นผ่านเว็บไซต์ของ
สำนักหอสมุดทางเครือข่ำยอินเทอร์เน็ต

9. อบรมการสืบค้นสารสนเทศและการใช้ห้องสมุด
เป็นบริการที่แนะนำเทคนิควิธีการสืบค้นสารสนเทศแก่ผู้ใช้บริการให้สามารถค้นคว้า
สารสนเทศจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในสาขาวิชาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถติดต่อขอ

ใช้บริกรโดยนัดหมายเวลาตามที่ต้องการได้ 
สอบถามเพิ่มเติมที่ โทร 0-3810-2475

10. ห้องศึกษาค้นคว้ากลุ่ม
ให้บริการห้องศึกษาค้นคว้าเป็นกลุ่มแก่นิสิตและสมาชิกของห้องสมุด โดยผู้ที่ต้องการใช้
ห้องศึกษาค้นคว้ากลุ่มสามารถติดต่อขอใช้บริการได้ที่เคาน์เตอร์บริการชั้น 5 โดยใช้บริการ
ได้ครั้งละ 3 ชั่วโมง และจำนวนผู้ใช้บริการอย่างน้อยห้องละ 3 คน

การให้บริการ


สำนักหอสมุด ให้บริการสารสนเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมีบริการต่างๆดังนี้
ชั้น 2
- สมัครสมาชิกห้องสมุด
- ยืม-คืน หนังสือและวิทยานิพนธ์
- สืบค้นจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
- ตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
- หนังสือภาาาต่างประเทศ หนังสือ SET Corner
- มุมต่อต้านการค้ามนุษย์ มุมคุณธรรม
ชั้น 3
- หนังสือภาษาไทย นวนิยาย เรื่องสั้น หนังสือเด็ก
- ถ่ายเอกสาร
ชั้น 4
- วารสาร หนังสือพิมพ์ จดหมายข่าว
- สืบค้นวารสารอิเล็กทรอนิกส์
- ถ่ายเอกสาร
ชั้น 5
- ยืมหนังสือ วิทยานิพนธ์
- ฝึกอบรมและแนะนำการใช้ห้องสมุด
- สืบค้นข้อมูลฐานอิเล็กทรอนิกส์
- ตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า
- วิทยานิพนธ์ หนังสืออ้างอิง หนังสือหายาก
- หนังสือราชกิจจานุเบกษา สารสนเทศภาคตะวันออก
- จุลสาร กฤตภาค
- ถ่ายเอกสาร
ชั้น 6
- ยืม-คืน สื่ออิเล็กทรอนิกส์/สื่อโสตทัศน์
- ชุดศึกษาเทปวีดีทัศน์ วีซีดี ซีดีรอม มัลติมีเดีย เทปเสียง และรายการโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม/UBC
- อินเตอร์เน็ต และ ห้องโฮมเธียเตอร์
ชั้น 7
- หนังสือพระราชนิพนธ์ในสมเด้จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- หนังสือภาษาไทย พิมพ์ก่อน พ.ศ. 2526
- หนังสือภาษาต่างประเทศ พิมพ์ก่อน ค.ศ. 1970

วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ศึกษานอกสถานที่ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำบางแสน สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา

พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำบางแสน


ได้ศึกษาเกี่ยวกับปลาสร้อยนกเขา


                                                                                             ปลาสร้อยนกเขา


ลักษณะ : ลำตัวเรียว ด้านข้างคล้ายมีดอีโต้ หน้าผากเป็นรูปโค้งและตั้งฉากลงมายังปาก ครีบหลังสองตอนติดกันตอนหน้ามีก้านครีบแข็ง ส่วนตอนหลังเป็นครีบอ่อน ครีบตรงทวารเป็นรูปไข่ หางลักษณะเป็นปลายตัด สีของปลาเมื่อยังเล็กอยู่นั้น ผิวจะมีสีดำ พอโตขึ้นลำตัวปลาจะเป็นสีขาว และสีดำของผิวปลาตอนเด็กก็จะกลาย มาเป็นลายบนตัวปลาคาดตามความยาวของปลาสลับกับพื้นที่สีขาว นี่แหละที่มาของปลาม้าลายจริงๆ 

ที่อยู่อาศัย : ปลาสร้อยนกเขา อาศัยอยู่ตามหน้าดิน หรือตามแนวปะการัง พบทั่วไปทั้งตามชายฝั่งทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามัน 


VDO สำหรับปลาสร้อยนกเขา : http://www.youtube.com/watch?v=9D_93OGLrus&feature=player_embedded

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดหลักทฤษฎีการสื่อสารกับเทคโนโลยีการศึกษา


1. ประเภทของสื่อเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ได้กี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ มี 4 ประเภท ได้แก่
     1. สื่อโสตทัศน์
     2. สื่อมวลชน
     3. สื่ออิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม รวมคอมพิวเตอร์
     4. สื่อที่เป็นแหล่งวิทยาการ เช่น หอสมุด ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น
          แบ่งตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ


2. ประเภทของสื่อเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามลักษณะทั่วไปได้กี่
ประเภท อะไรบ้าง จงหาภาพมาประกอบ
ตอบ มี 3 ประเภท ได้แก่
1. สื่อประเภทใช้เครื่องฉาย (projected aids)  เช่น

1.1  สไลด์ใช้กับเครื่องฉายสไลด์
1.2  แผ่นภาพโปร่งใสกับเครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ
1.3   ฟิล์มภาพยนตร์กับเครื่องฉายภาพยนตร์


2. สื่อประเภทไม่ใช้เครื่องฉาย (nonprojected aids) เช่น





รูปภาพ แผนภูมิแผนสถิติของจริงของจำลอง


3. สื่อประเภทเครื่องเสียง (Audio aids) เช่น



เทปเสียงแผ่นซีดีวิทยุ




3. ประเภทของเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามประสบการณ์ เป็นของนักการศึกษาท่านใด และมีการจัดประสบการณ์จากนามธรรมไปสู่รูปธรรมโดยเริ่มต้นจากประสบการณ์ใดไปประสบการณ์ใดจงอธิบาย

ตอบ เป็นของเอดการ์ เดล (Edgar Dale)






4. การสื่อสารหมายถึงอะไร
ตอบ  หมายถึงกระบวนการถ่ายทอด แลกเปลี่ยนเรื่องราว  ความต้องการ  ความคิดเห็น  ความรู้สึก ระหว่างผู้ส่ง-ผู้รับ  ผ่านสื่อ  ช่องทางเพื่อการติดต่อ  รับส่งข้อมูลซึ่งกันและกัน


5. สื่อและเทคโนโลยีการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารในองค์ประกอบใด จงอธิบาย

ตอบ สื่อและเทคโนโลยีการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของ สื่อ ในองค์ประกอบของการสื่อสาร เพราะ สื่อและเทคโนโลยีการศึกษา เป็นตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียน

6. จงเขียนแบบจำลองของการสื่อสารของเดวิดเบอร์โลมาพอเข้าใจ
ตอบ

7. อุปสรรคของการสื่อสารมีอะไรบ้าง
ตอบ     1. คำพูด (Verbalisn)
    2. ฝันกลางวัน (Day Dreaming)
    3. ข้ออ้างถึงที่ขัดแย้ง (Referent Confusion)
    4. การรับรู้ที่จำกัด (Limited Perception)
    5. สภาพแวดล้อมทางกายภาพไม่เอื้ออำนวย (Physical Discomfort)
    6. การไม่ยอมรับ (Inperception)






8. บทเรียน e-Learning เป็นส่วนใดขององค์ประกอบของการสื่อสาร
ตอบ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ สื่อระหว่างบุคคล คือผู้เรียนกับผู้สอน


9. ครูบอยกำลังสอนเนื้อหาวิชาภาษาอังกฤษเรื่อง Grammar ด้วยวีดีทัศน์กับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 จากข้อความดังกล่าวให้นิสิตเขียนแบบจำลองการสื่อสารของเดวิดเบอร์โล

ตอบ

10. การปฐมนิเทศนิสิตใหม่ ณ หอประชุมธำรงบัวศรี เป็นการสื่อสารประเภทใด
ตอบ เป็นการสื่อสารแบบกลุ่มใหญ่










อ้างอิง